ซ่อมถังน้ำไฟเบอร์กลาสแตก!! ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

Last updated: 6 ก.ย. 2567  |  1700 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ซ่อมถังน้ำไฟเบอร์กลาสแตก

ซ่อมถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสแตกทำอย่างไร?

ปัญหาถังเก็บน้ำขนาดใหญ่แตก รั่ว ชำรุดเสียหาย มีให้เห็นบ่อยเป็นประจำ สาเหตุเกิดจากถังเก็บน้ำมีอายุการใช้งานมายาวนาน หรือ เกิดจากถังเก็บน้ำใบใหม่ ที่ติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน เกิดจากผู้ติดตั้งไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสคือ สามารถซ่อมให้แข็งแรงเหมือนเดิมได้ แม้จะแตกเยอะ แตกน้อย ถังน้ำแยกผ่าครึ่งใบก็ตาม มันสามารถซ่อมได้ครับ

การเตรีมตัวก่อนซ่อมถังน้ำไฟเบอร์กลาส

  1. สำรวจความเสียหาย หรือจุดแตก จุดรั่วให้ชัดเจน ว่ามีกี่จุด และขนาดใหญ่แค่ไหน
  2. เคลียร์พื้นที่บริเวณจุดซ่อมได้เข้าออกง่าย เพื่อการทำงานที่คล่องตัว
  3. เตรียมอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับซ่อมถังไฟเบอร์กลาสโดยเฉพาะ
  4. ปล่อยน้ำออกจากถังเก็บน้ำให้หมด แล้วปล่อยให้แห้ง ระยะเวลา 1-2 วัน
  5. ต่อไปจะเข้าสู่ขั้นตอนซ่อมแล้วนะครับ

 

 

5 ขั้นตอนการซ่อมถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส

หลังจากเราเตรียมอุปกรณ์ครบเรียบร้อยแล้ว จะมาถึงขั้นตอนการซ่อมที่ล่ะ Step แล้วนะครับ

ขั้นตอนที่ 1 : ปล่อยน้ำทิ้งให้หมด ป้องกันการไม่ยึดตัวของเรซิ่นกับตัวถังน้ำ

ทุกครั้งที่เราซ่อมถังเก็บน้ำ ควรปล่อยน้ำออกจากถังให้หมด หรือให้เหลือน้อยที่สุด เพราะระหว่างการซ๋อมถังไฟเบอร์กลาส อาจจะทำให้น้ำผสมกับเรซิ่น และไม่เกิดการยึดเกาะตัวที่ดีได้

ขั้นตอนที่ 2 : ขัดบริเวณรอบๆจุดแตก จุดรั่วของถังเก็บน้ำ

ให้ใช้หินเจียรบาง ทำความสะอาดบริเวณรอบๆ จุดที่เราจะซ่อมอย่างน้อยห่างจากแผลระยะ 30 เซนติเมตร เพื่อขัดทำความสะอาด และจะเป็นการเพิ่มการยึดเกาะที่เหนียวแน่นยิ่งขึ้นของ น้ำยาเรซิ่น ข้อควรระวังหากเราไม่ขัดจุดที่เราซ่อมจะรั่วอีกนะครับ ช่างบางชุดมักง่าย เราต้องคอยดูด้วย

ขั้นตอนที่ 3 : ตัดแผ่นใยแก้ว + ผสมน้ำยาเรซิ่นตามอัตราส่วนเหมาะสม

นำแผ่นใยแก้ว ขนาด 450 mm. มาตัดให้ได้ตามขนาดจุดซ๋อม โดยให้วางซ้อนกันได้อย่างน้อย 3 ชั้น เพื่อความแข็งแรง หลังจากนั้นผสมน้ำยาเรซิ่นกับตัวเร่งปฏิกริยา เพื่อให้มีความแข็งแรง เตรียมใส่ภาชนะให้ขนาดพอเหมาะ

ขั้นตอนที่ 4 : ทำการ Hand Lay แผ่นใยแก้ว กับ น้ำยาเรซิ่นลงบนจุดรั่ว

หลังจากผสมน้ำยาเรซิ่น กับ ใยแก้วแล้ว ให้วางแผ่นใยแก้วลงที่จุดซ่อม บริเวณรั่ว แล้วใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งให้แผ่นใยแก้วเรียบติดกับตัวถัง (ระวังน้ำยาจะแข็งตัวเร็วมาก) ต้องทำอย่างรวดเร็ว และระมัดระวังนะครับ รีดกลับไป กับมาแบบนี้ประมาณ 4-5 รอบ แล้วเพิ่มจำนวนชั้นใยแก้ว ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 อีกตามลำดับ

ขั้นตอนที่ 5 : ทิ้งให้แห้งสนิม ตัดแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อย

หลังจากเราทำการ เลย์ใยแก้วกับเรซิ่น จนได้ความหนาตามต้องการแล้ว รอให้แห้งประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้เราใช้ หินเจียร ขัดตัดแต่งชิ้นงาน เนื่องจากวัสดุจะแข็งตัวแล้ว เมื่อตัดแต่เสร็จแล้ว ก็สามารถทดสอบเติมน้ำ เพื่อเช็คว่าจุดรั่วหายหรือยัง อันนี้ก็เสร็จกระบวนการเรียบร้อยครับ

 ซ่อมถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสแตก รั่ว ซ่อมอย่างไร | เคสกรณีศึกษา

 

จากขั้นตอนทั้งหมดฟังดูแล้วเหมือนจะง่าย แต่ต้องอาศัยความชำนาญ และการฝึกฝนอยู่ประจำนะครับ และต้องมีอุปกรณ์พร้อมจึงจะทำงานออกมาได้ดี ไม่รั่ว ไม่แตก แถมยังจะทำงานออกมาได้อย่างมีคุณภาพอีกด้วย 

รับซ่อมถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส

 

อุปกรณ์สำหรับงานซ่อมถังไฟเบอร์กลาส 

 

คำถามที่พบบ่อยๆ 

=> ซ่อมถังเก็บน้ำแล้วจะอยู่ได้นานกี่ปี?

คำตอบ : ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส ถ้าหากซ่อมอย่างถูกวิธี จะมีอายุการใช้งานยาวนานอีก 10 ปี เพราะการซ่อมถังเก็บน้ำจุดที่ซ่อมจะยิ่งมีความหนาเพ่ิมขึ้น และทำให้มีความแข็งแรงเพ่ิ่มขึ้นอีกด้วย

=> ถังเก็บน้ำพลาสติกซ่อมได้หรือไม่?

คำตอบ : ถังพลาสติกไม่สามารถซ่อมด้วยวิธีนี้ได้ เนื่องจากเนื้อพลาสติกจะบางและกรอบ หากมีการรั่ว จะซ่อมได้ยากกว่าถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส และมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า

 

ซ่อมถังเก็บสารเคมีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

ปรึกษาการซ๋อมถังเก็บน้ำอุตสาหกรรมฟรี

092-4392509

096-7896939

034-446877

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้