ระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหาหรือเปล่า?

สาเหตุที่ระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหาเกิดจากอะไรบ้าง

  1. ระบบบำบัดน้ำเสียไม่เหมาะสม. หรือมีขนาดเล็กเกินไป
  2. การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียไม่ได้มาตรฐานตามกำหนด
  3. ไม่ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งก่อนออกแบบระบบบำบัด
  4. น้ำเสียมีค่าความสกปรกเยอะเกินไป ระบบบำบัดไม่สามารถบำบัดได้
  5. ไม่ดูแลบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียให้ใช้งานได้ตลอดเวลา
  6. ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบกับโรงงาน "ถูกร้องเรียนสั่งปิดโรงงาน"

 "ถังบำบัดน้ำเสียทำงานอย่างไร" 

 

 


ขั้นตอนการทำงานถังบำบัดน้ำเสีย 

กระบวนการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียแบ่งออกได้ 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ขั้นตอนการแยกกาก
  2. ขั้นตอนการปรับสภาพ
  3. ขั้นตอนการเติมอากาศ
  4. ขั้นตอนการตกตะกอน


 ปัญหาน้ำเน่าเสีย

 

ปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์หรือน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม มักจะสร้างมลพิษทางน้ำและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตกันมาอย่างยาวนาน โดยสาเหตุหลักๆ เกิดการน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนสารเคมี น้ำเสียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำเสียที่เกิดจากการทำเกษตรกรรม ฯลฯ ดังนั้นจึงทำให้ต้องมีการควบคุมน้ำทิ้งโดยการบำบัดก่อนที่จะปล่อยสู่สาธารณะ

ตามข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ได้กำหนดว่าน้ำเสียที่ปล่อยสู่ธรรมชาติ
"
 จะต้องมีค่า BOD ไม่เกิน 20 mg/L โดยขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรม
" 

บริการของเรามีอะไรบ้าง

 กฎหมายควบคุมน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม 

  • าตรา 119 ทวิ ห้ามไม่ให้ผู้ใดเททิ้ง น้ำมัน และเคมีภัณฑ์หรือสิ่งใดๆ ลงในแม่น้ำ ลำคลอง ที่ประชาชนใช้ร่วมกันอันเป็นเหตุให้เกิดเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องถูก ลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60.000 บาท และต้องชดใช้เงินคำใช้จ่ายที่ต้องใช้ ในการแก้ไขสิ่งเหล่านี้ด้วย
  • มาตรา 14 ห้ามเทหรือทิ้งสิ่งใดๆ หรือระบายสิ่งที่ทำให้น้ำโสโครก ลงในคลองประปา คลองรับน้ำ หรือคลองส่งน้ำ
  • มาตรา 15 ห้ามทิ้งซากสัตว์ ขยะมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูล ลงในเขตคลองประปา คลองรับน้ำ คลองส่งน้ำ ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 14 และ 15 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เก็บตัวอย่างน้ำเสีย

 วิธีการบำบัดน้ำเสีย


1.การบำบัดขั้นต้น (Preliminary Treatment) เป็นการบำบัดเพื่อแยกเอาของแข็งขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสีย โดยใช้เครื่องจักรที่ประกอบไปด้วย ตะแกรงหยาบ ตะแกรงละเอียด ถังดักกรวดทราย ถังตกตะกอนเบื้องต้น และเครื่องกำจัดไขฝ้า สามารถกำจัดของแข็งที่แขวนลอยได้มากถึง 50-70% เลยทีเดียว
2.การบำบัดขั้นที่สอง (Secondary Treatment) เป็นการบำบัดทางชีวภาพ อาศัยการเลี้ยงจุลินทรีย์ในระบบภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการกินสารอินทรีย์ที่รวดเร็ว จากนั้นจึงทำการแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำเสียด้วยถังตกตะกอน และนำไปฆ่าเชื้อโรค ก่อนทำการระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
3.การบำบัดขั้นสูง (Advance Treatment หรือ Tertiary Treatment) เป็นกระบวรการกำจัดสารอาหาร สี สารแขวนลอยที่ตกตะกอนได้ยาก เป็นการปรับปรุงคุณภาพของน้ำให้ดีมากขึ้นหรือเพียงพอที่จะนำกลับมาใช้งานใหม่ อีกทั้งยังมีการป้องกันการเติบโตผิดปกติของสาหร่ายที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้เป็นอย่างดีอีกด้วยนั่นเอง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้