Last updated: 8 ก.ย. 2564 | 5687 จำนวนผู้เข้าชม |
ถังบำบัดน้ำเสียเติมอากาศ มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนที่เราควรเข้าใจ เพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษา และจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบได้ดียิ่งขึ้น ถังบำบัดน้ำเสียทั่วไปจแบ่งออกเป็น ถังบำบัดน้ำเสียชนิดไม่เติมอากาศ และ ถังบำบัดน้ำเสียชนิดเติมอากาศ ซึ่งความแตกต่างกันอยู่ที่เครื่องเติมอากาศ และคุณภาพน้ำเสียผ่านการบำบัดแล้ว จะมีค่า BOD ที่แตกต่างกัน
กระบวนการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆดังนี้
จากขั้นตอนข้างต้นถือเป็นการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียแบบพื้นฐานทั่วไป ทั้งนี้การออกแบบของวิศวกรสิ่งแวดล้อม อาจจะมีเพิ่มขั้นตอนเข้าไป เช่นกรณีขั้นตอนการบำบัดด้วยเคมี อาจจะเป็นการบำบัดก่อนการใช้ระบบบำบัดแบบเลี้ยงเชื้อจุลลินทรีย์ หรือ ที่เรียกว่า Activated Slugde
1. ขั้นตอนการแยกกากและตะกอน หรือ บ่อตกตะกอน
ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส จะเป็นบ่อแรกที่รองรับน้ำเสียจากห้องน้ำ เพื่อทำหน้าที่แยกกากและตะกอนออกจากกัน ให้เหลือเพียงน้ำที่เราต้องการบำบัดเท่านั้น บ่อนี้จะเป็นบ่อเก็บกากที่เรามักจะใช้รถดูดส้วม มาดูดไปกำจัดในระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี นั้นเอง เมื่อน้ำเสียไหลลงบ่อนี้แล้ว น้ำที่ถูกแยกกากและตะกอนแล้วจะไหลผ่านท่อ ขนาด 6 นิ้ว ล้นไปยังบ่อที่ 2 คือบ่อเติมอากาศ ถังบำบัดน้ำเสียจะถูกออกแบบท่อภายในมาแล้ว และภายในถังจะแบ่งเป็นช่องชัดเจน
2. ขั้นตอนการเติมอากาศ หรือ บ่อเติมอากาศ
บ่อเติมอากาศ มีหน้าที่เติมอากาศให้กับน้ำเสีย สังเกตุง่ายๆ บ่อนี้จะถูกออกแบบมาให้มีเครื่องเติมอากาศอยู่ด้วย นิยมใช้คือ Airpump, Submersible Ejector, Submersible Aerator และ Air Blower ถือเป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ ระบบแต่ล่ะรุ่น จะมีการออกแบบใช้เครื่องเติมอากาศที่แตกต่างกัน เพราะจะอยู่ที่ความเหมาะสมของการใช้งาน และการออกแบบของวิศวกรสิ่งแวดล้อม
3. ขั้นตอนการตกตะกอนน้ำใน หรือ บ่อตกตะกอน
บ่อตกตะกอนน้ำใส จะทำหน้าที่ดักตะกอนที่ลอยตัวให้จมลงด้านล่าง ป้องกันไม่ให้ตะกอนหรือจุลินทรีย์หลุดผ่านออกไปจากระบบบำบัดน้ำเสียได้ บ่อนี้เป็นบ่อสุดท้ายในขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดมาจะใส แต่จะมีตะกอนหรือจุลินทรีย์ปนมาด้วย การออกแบบดีไซน์ระบบของวิศวกร จะเพิ่มปั้มสูบน้ำเสีย Submersible Pump เพื่อช่วยสูบตะกอนย้อนกลับไปใช้ใหม่อีกครับ เพื่อป้องกันไม่เชื้อจุลทรีย์มีในระบบน้อยเกินไป สิ่งที่เห็นได้ชัด บ่อนี้จะมีจุลินทรีย์ลอยอยู่ด้านบนเยอะ ดังนี้จะมีเวียร์ หรือ บ่อที่คอยดักไว้ น้ำใสจะไหลลงสู่รางธรรมชาติ หรือ รางระบายสาธารณะต่อไป
หลังจากการบำบัดน้ำเสียแล้ว เราสามารถนำน้ำเสียเหล่านี้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง โดยโครงการขนาดใหญ่จะมีบ่อพักน้ำ เพื่อรอระบายออกจากโครงการและยังสูบนำกลับมาใช้ลดน้ำต้นไม้ได้อีก ถือเป็นการช่วยลดพลังงาน และทรัพยากรน้ำได้เป็นอย่างดี
สอบถามข้อมูล ปรึกษาปัญหาเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียฟรี
บริษัท เอ็ม-เทค วอเตอร์โซลูชั่น จำกัด
สายด่วน : 092-4392509
สำนักงาน : 034-446877
Line คลิ้ก : https://lin.ee/kZyhqqx
FACEBOOK : https://www.facebook.com/mtechwatersolution